รีวิว VitaAcnal By น้องหมาหน้าสวย

Admin

January 1,2021

🐢Review Dr.Different Vita-acnal 

          วันนี้เหมือนเดิมคือน้องหมาจะรีวิวนั่นละฮะ ดองไว้นาน ที่นานไม่ใช่อะไรฮะ น้องหมาหนุ่มหล่อเดินชน บาดเจ็บหนักมาก วิญญาณเลยย้อนเวลาไปในยุคโชซอนฮะ น้องหมาลืมตาขึ้นมาก็เจอใบหน้าหล่อเหลาของฝ่าบาท ฝ่าบาทยกย่องน้องหมาเป็นมเหสีเอกทันที แต่น้องหมาปฏิเสธ น้องหมาไม่อยากเป็นมเหสี น้องหมาอยากเป็นนางงามฮะ เพื่อจะได้เป็นกระบอกเสียงให้กับเด็กและสตรี เรียกร้องเสรีภาพ อิสรภาพ ภราดรภาพ รวมไปถึงสิทธิมนุษยชน ฝ่าบาทโพรธโกรธกริ้วกระทืบบาท พสุธากัมปนาทหวั่นไหว ห้วงมิติแปรปรวนทันใดจนวิญญาณของน้องหมากลับมาเข้าร่างฮะเลยว่างมาพิมพ์รีวิวเสียที

😱สรุปให้เลย เหมาะกับ

1.สายสิวทีไม่รุนแรงระดับต้องใช้ยา
2.ต้องการกระตุ้นคอลลาเจนลดริ้วรอยด้วย แต่
3.ไม่อยากทา tretinoin ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
4.อยากถอยจากอย่าสิวแต่ลังเลเพราะอยากได้การกระตุ้นคอลลาเจนจากยา

เข้าเกณฑ์อ่านต่อ ✊🏻🍆 ไม่เข้าปิดไปฮะ

🐢มันคืออะไร ดียังไงอ้ะน้องหมา?

          สำหรับเซรั่มหลอดนี้น้องหมาให้คะแนน novelty เต็ม 10 สูตรการใช้ Retinal + LHA ในการรักษาสิวนี้น้องหมายังไม่เห็นแบรนด์ไหนทำนะฮะ ถือว่าแปลกใหม่มาก ๆ แม้แต่ LHA เดี่ยว ๆยังแทบไม่มี ส่วนใหญ่ใส่มาคู่กับ BHA เท่านั้น 

           ในแง่สิวล้วนๆนะฮะ Retinal หรือ ชื่อเต็มๆว่า Retinaldehyde เป็นสารในกลุ่มวิตามินเอในรูป aldehyde ซึ่งจากความรู้ที่เรามีเนี่ยก็จะทราบว่า aldehyde มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ทำให้มีความแตกต่างจากวิตามินเอตัวอื่น ๆ

           ในขณะเดียวกันเขาก็กลัวว่าการผลัดผิวการลดเคอราตินจะไม่เพียงพอจาก Retinaldehyde เดี่ยว ๆตัวเดียว เลยเลือกใส่ LHA มา LHA เป็นกรดที่ชอบทะลวงไขมันเข่นเดียวกับ BHA ฮะ เพียงแต่ด้วยขนาดโมเลกุลที่ใหญ่กว่าทำให้การผลัดผิวเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่อ่อนโยน ผลัดแบบทีละเซลล์ทีละเซลล์ (cell by cell exfoliation) จากด้านบน คอยช่วยลดการอุดตันอีกทางนึงโดยไม่ได้ทำให้สูตรมีความระคายเคืองเพิ่ม

🐢เนื้อผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์

           เนื้อเซรั่มเป็นเจลเหนียวสีเหลืองสด….อ่านไม่ผิดอะ สีเหลืองสด!!!! สีของสารหลักนั่นแหละฮะ เนื้อไม่เบา แต่ก็ไม่ได้หนักหน้าจนเกินไปเพราะทาในปริมาณที่ไม่เยอะ พอทาลงผิวไปแล้วสามารถซึมได้จนไม่เปื้อนหมอน ไม่เปือนเสื้อผ้านัก ใช้ทิชชู่ซับๆ ถูๆหลังจากซึมจนแห้งแล้วติดสีเหลืองจางๆ อยู่ในหลอดปากแคบซึ่งเหมาะจะไว้เก็บสารที่เสื่อมง่าย

           ส่วนตัวไม่ได้ชอบเนื้อเพราะไม่ได้ทาสบายหน้า หรือซึมไวฉ่ำอะไรขนาดนั้น แต่ก็ไม่ได้เกลียดมันเท่าไหร่นัก

🐢การทดลองของทางแบรนด์เอง

           ทางแบรนด์เองเขาก็ทำการทดลองอะนะฮะ เป็น Clinical trial ในกลุ่มตัวอย่างเล็ก ๆ 23 คน จับมาทาตัวนี้ 4 สัปดาห์แล้วประเมินสิวหัวดำ สิวหัวขาว พบว่า สิวอุดตันหัวขาวลดลง 24% หัวดำลดลง 27.9% แล้วก็หน้ามันลดลง 23% ด้วย ถ้าไปลงเจาะลึกดูข้อมูลของแต่ละตัวอย่างเนี่ย จะพบว่าในบางคนที่2สัปดาห์มีสิวเพิ่มมากขึ้นด้วยฮะ แต่ว่ามีประมาณ 10% ของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้นที่เกิดการ purging หรือดันสิวฮะ

🍒ผลลัพธ์ 🍒

          ต้องบอกว่าน้องหมาทราบ % ของ Retinaldehyde ที่ใส่มาหลังจากใช้ไปแล้วซักพักนึง คือคาดคั้นถามแบรนด์แล้วเขายอมบอก แต่ขอร้องไม่ให้น้องหมาบอกต่อ น้องหมาบอกได้แค่ว่า % ที่ใส่มาคาดหวังเรื่องริ้วรอยได้ด้วย แต่จากการให้ subject ใช้ และน้องหมาใช้เองยังไม่ได้เห็นผลเรื่องริ้วรอยในจุดนี้นะฮะ

           ในเรื่องของสิว subject เป็นคนผิวมัน เป็นสิวแบบ mild acne มีอุดตันเป็นหลัก อักเสบประปรายไม่เกิน 1-2 เม็ด เดิมใช้ 2% BHA ของป้าพอลล่าคุมสิวเรื่อยมาคุมได้ดี ใช้ moisturizer ของ cerave pm น้องหมาให้หยุดใช้ 2 สัปดาห์ก่อนลองเทสดู แล้วค่อยเริ่มทา โดยทา vitaacnal หลังจาก cerave pm ในตอนกลางคืนฮะพบว่า ระยะ 1-2 สัปดาห์แรกที่ใช้มีสิวอุดตันเพิ่มขึ้นมาบ้าง (purging) หลังจากนั้นสิวค่อยๆลดไปตามลำดับ และที่ 1 เดือนไม่มีสิวอักเสบแล้ว มีอุดตันให้เห็นเล็กน้อย ค่า porphyrin หรือ ค่าที่ใช้วัดเชื้อสิวแบบอ้อมๆลดลง 10-15% ที่บริเวณ T-zone ฮะ

            ในเรื่องความชุ่มชื้นพบว่าแห้งลงนิดเดียวในสัปดาห์แรก แต่ไม่มีอาการแสบแดง พอผิวแห้งลงก็ให้ใช้ cerave pm ทาทับสองรอบติดฮะ ไม่มีปัญหาอะไร หลังจากนั้นผิวก็ค่อยๆกลับมาชุ่มชื้นพอๆเดิม และมากกว่าเดิมที่ปลายๆเดือน

            ในเรื่องของค่าการผลัดผิว ดู desquamation index ที่ 4 สัปดาห์ แล้วพบว่าทำได้ดี ผลัดผิวได้จริง ๆฮะ ซึ่งผลนี้จากทั้ง retinal ทั้ง LHA นะฮะ

🍒น้องหมาใช้เอง🍒

            ตัวนี้น้องหมาใช้เองด้วยเพราะสิวคุมได้ดีแล้วหลังใช้ tretinoin มา 7 8 เดือน ดังนั้นเลยจะลดระดับกลับมาใช้สกินแคร์ฮะ ซึ่งตัวนี้น้องหมาใช้เพราะตอบโจทย์ทั้งเรื่องสิว และ เรื่องริ้วรอยเช่นเดียวกับ tretinoin แต่ในระดับที่น้อยกว่า แลกกับการไม่ต้องระวังตัวมาก ไม่ต้องเลี่ยงแดดมาก ไม่แห้งง่ายเวลาอากาศเปลี่ยน ของน้องหมาเนื่องจากหน้าชินกับ tretinoin แล้วน้องหมาเลยเลือกทาเป็น step แรก ด้วยสองเหตุผล

  1. อยากให้เซรั่มดูดซึมได้เยอะ ๆ จึงทาแรกๆเลย
  2. ให้ดูดซึมเยอะๆเพราะจะได้เลอะเทอะน้อยที่สุด การทาหลังตัวอื่นๆอาจจะทำให้ซึมได้ลดลง เปื้อนเลอะเทอะได้

           ซึ่งทำให้น้องหมาทาแล้วไม่เลอะหมอนเลยยยยย เพราะปล่อยจนแห้งสนิท ส่วนตัวยังคุมสิวได้พอๆเดิมหลังจากหยุด tretinoin ไป ไม่ได้มีสิวเยอะอะไรมากขึ้น ไม่เห่อ ที่ชอบที่สุดคือผิวชุ่มชื้นขึ้นได้ดีมากก ไม่ได้แห้งง่ายๆแล้วเหมือนเวลาทายา ในส่วนของการผลัดผิวน้องหมาก็ยังใช้ BHA cleanser เหมือนเดิมในตอนเย็นหรือเช้าเพื่อช่วยในเรื่องของการผลัดผิวอีกแรกหนึ่งเสริมจากที่ทาโดยที่ไม่ได้ระคายเคืองจนเกินไปเพราะทาแค่1นาทีแล้วล้างออก

          ผิวกริบมากกก รัก โดยที่ไม่ต้องพึ่งยาละ แต่ถ้าหิวเห่อหนักเพราะอะไรก็แล้วแต่คงต้องกลับไปทายา

🐢🐢🐢สรุป : เหมาะกับสายสิวที่ต้องการเน้นเรื่อง anti-aging ด้วย อยากกระตุ้นคอลลาเจนไปยาวๆตั้งแต่วันนี้ แต่ก็ไม่กล้าเสี่ยงที่จะใช้ยาสิวเพราะกลัวระคายเคืองต่างๆ กลัวหน้าแหกใดๆ หรือคนที่อยาก step down จากการใช้ยาสิวมาเนิ่นนาน คิดว่าคุมอยู่แล้วเบื่อแล้ว ก็ลองลดระดับลงมาทาตัวนี้ได้ฮะ🐢🐢🐢

🍒2% BHA vs Retinal in Niosome + LHA???🍒

            เทียบกันไม่ได้ฮะ เพราะยังไม่ได้มีใครทำวิจัยเอาทั้งสองตัวมาใช้เทียบกันเพื่อดู efficacy จะใช้ head-to-head comparisonในคนละ study design ก็ไม่ได้ เค้าไม่ทำกัน  ถ้าให้มองในแง่ evidence BHA มีหลักฐานมาสนับสนุนเยอะกว่ามาก ทำให้มั่นใจได้ในจุดนี้มากกว่า แต่ไม่ได้แปลว่า retinal+LHA จะสู้มันไม่ได้ เพียงแต่ยังไม่มีหลักฐานว่ามันเทียบเท่ากันได้เท่านั้นเอง คิดว่าในอนาคต Dr.Different คงจะตีพิมพ์เรื่องนี้แน่ๆ เพื่อขายของด้วย แล้วก็เพื่อให้รู้แจ้งไปเลยว่าสูตรของเขามันสู้ BHA ได้ไหม รอติดตามต่อไปฮะ

🍒Vita acnal vs ยาสิว ?🍒

บัดสี สกินแคร์จะไปสู้ยาได้ยังไง!
อย่างไรก็ดี การรักษาสิวที่มีความรุนแรง อุดตัน>20 เม็ด หรือ มีอักเสบ >15 เม็ด ถือว่าควรพบแพทย์นะฮะ อย่ามานั่งทู่ซี้ทาสกินแคร์ ไปทายานู้น 

ใครไม่อยากอ่านแล้วจบตรงนี้

————————————————-

🐢Ingredient list

Water, Glycerin, Rapeseed sterol, Cholesterol, Phytosteryl/Behenyl/Octyldodecyl  Lauryl Glutamate, 1,2-hexanediol, Microcrystalline Cellulose, Polyglyceryl-10 oleate, Hydrogenated Lecithin, Sodium Hyaluronate, Polyglutamic acid, Ceramide NP, Tocopherol, Capryloyl Salicylic acid, Retinal Stearic Acid, Oleic acid, Disodium EDTA

🐢-Retinaldehyde in Niosome 

เทคโนโลยีเดียวกับตัว Vita รุ่นปกตินี้แหละฮะ เพียงแต่วันนี้จะมาพูดในแง่มุมของสิวบ้าง

     🐛1.Anti-microbial หรือ ฤทธิ์ในการต่อต้านจุลชีพ(เชื้อโรค)
           Retinaldehyde มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แกรมบวก อย่างกลุ่ม S.aureus, S.epidermidis, และที่สำคัญ C.acne (Pechère M et al 1999, Pechère M et al 2002) ทำการทดลองทั้งในหน้าคนจริงๆและทดลอง in vitro
          ใน in vitro study พบว่าฆ่าเชื้อได้จริงๆโดนมีค่า MIC ต่อ C.acne 4-8 mg/L ขึ้นกับstrainของ C.acne ในขณะที่ retinoic acid มีค่า >128 ในทุกๆ strain (เลขยิ่งน้อยยิ่งดีปแปลว่าใช้ความเข้มข้นน้อยแล้วเชื้อตาย)
           ใน clinical trial ใช้ retinal 0.05% ทาในคน22คน มาทา retinal/ครีมหลอก โดยใช้สำลีปลอดเชื้อในการทาฮะ พบว่าใน 10 คนที่ได้ retinal เนี่ยมีถึง 8 คนเลยที่เชื้อ C.acne บนผิวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ก็คือกลุ่มที่ทาครีมหลอกไม่มีการเปลี่ยนแปลง

     🐛2.Comedolytic effect หรือ ฤทธิ์ในการละลายหัวสิว
            การทดลองใน Rhino mouse (Fort-Lacoste, L et al 1999) ได้ทำการทา 0.05% retinal เทียบกับ 0.025% tretinoin พบว่าสารทั้งสองตัวสามารถกระตุ้นให้เกิดการสลาย comedoneในระดับที่พอๆกัน
           เช่นเดียวกันกับการทดลอง RCT (Morel P et al 2001) ซึ่งพบกว่าการทา retinal+ erythromycin vs placebo+erythromycin กลุ่มแรกมีการลดลงของสิวอุดตันที่มากกว่า

     🐛3.Anti-acne การนำมาใช้รักษาสิว
           Multi-centered RCT (Morel P et al 2001) ทำการทดลองโดยใช้ Retinaldehyde 0.1% ทาคู่กับ erythromycin 4% (ให้นึกถึง Eryacne) ตัวการทดลองงงๆนิดหน่อยตรงให้ทา Retinal หรือครีมหลอกตอนเช้า(!!??) และทา erythromycin 4% ในตอนกลางคืน เป็นเวลา 2 เดือน สรุปไม่ Sig กลุ่มที่ทา erythromycin เปล่าๆ เทียบกับ retinal+erythromycin ในการลดสิวอักเสบ แต่สิวอุดตันลดได้ดีกว่ากลุ่มทาเดี่ยวๆ ซึ่งอ่นาแล้วก็งงมากทำไมไม่ทา retinal ตอนกลางคืน แล้วทา Erythromycin ตอนกลางวัน

           Retrospective cohort (Masini F et al, 2014) ได้นั่งรีวิวดูเวชระเบียนผู้ป่วยที่เป็นสิวแล้วทา RGE cream (0.1% retinal,6% glycolic acid, 0.1% efectiose) โดยการประเมิน Global Evaluation Scale (GES) ยิ่งน้อยแปลว่าผิวยิ่งใส พบว่าหลังใช้ครีมตัวนี้ไปแล้วเนี่ย ค่า GES จากเดิม 1.83 -> 1.57 (ที่ 30 วัน) -> 0.9 (ที่ 60 วัน) ซึ่งลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

          และในครีมตัวเดียวกันนั้นเอง RGE cream (Dreno B et al 2007) ก็ได้มีการนำมาใช้ในการช่วยป้องกันรอยสิว

            จะเห็นว่าข้อมูลของ Retinaldehydeในสิวมีอยู่บ้างแต่ไม่ได้เยอะ แล้วหลายครั้งก็ไม่ได้ใช้ตัวเดียวเดี่ยวๆ การใช้ Retinaldehyde เดี่ยวๆจึงยังไม่ได้มีใครทำ เพราะอาจจะไม่เพียงพอ และค่าใช้จ่ายในการทำให้สูตรเสถียร  หมอต่างเองก็ใส่ LHA มาด้วยเพื่อเสริมการผลัดผิวจากชั้นบนซึ่ง retinal ทำไม่ได้ในจุดนี้

🐢-Capryloyl Salicylic acid (LHA, Lipohydroxy acid)

           LHA เป็นญาติสนิทกับ Salicylic acid ฮะ ด้วยโมเลกุลของ LHA เนี่ย ทำให้น้องมีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่กว่า และของน้ำมันมากกว่า Salicylic acid ฮะ ในงานวิจัยเอง in vitro ใช้ Franz ในการดูการลงผิวพบว่ามีแค่ 6% เท่านั้นที่ทะลุ Stratum corneum ไปในขณะที่ Salicylic acid ลงไป 58% ในส่วนของ in vivo นั้นมีการใช้ tapestrip analysis พบว่าหังจากทาไป 4 วัน มี LHA อยู่ใน Stratum corneum ถึง 17% ในขณะที่ Salicylic เหลือคือ 9.7%

          ด้วยลักษณะของโมเลกุลมันนั้นเองทำให้การผลัดผิวเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ผลัดแบบละเอียดมากกว่า Salicylic acid คือเป็นการผลัดแบบ Cell by cell 

🐢-Hyaluronic acid + Polyglutamic acid

           เป็นสาร humectant ทั้งคู่ฮะ โดยเจ้า polyglutamic acid นี้สามารถอุ้มน้ำมากกว่า hyaluronic acid หลายเท่าตัวเลยฮะ ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นและบรรเทาอาการแห้งที่อาจเกิดจาก Retinaldehyde

🐢-Cholesterol + Stearic acid + Ceramide 

           ใส่มาเพื่อช่วยในเรื่องของการเสริมชั้นผิวฮะ ช่วยผิวอุ้มน้ำด้วยสารต่างๆที่มีอยู่ใน Skin barrier อยู่เดิมแล้ว

Reference

-Pechère M, Pechère JC, Siegenthaler G, Germanier L, Saurat JH. Antibacterial activity of retinaldehyde against Propionibacterium acnes. Dermatology. 1999;199 Suppl 1:29-31. doi: 10.1159/000051375. PMID: 10473957.
Pechère M, Germanier L, Siegenthaler G, Pechère JC, Saurat JH. The antibacterial activity of topical retinoids: the case of retinaldehyde. Dermatology. 2002;205(2):153-8. doi: 10.1159/000063903. PMID: 12218231.
– Morel, P., Vienne, M. P., Beylot, C., Bonerandi, J. J., Dreno, B., Lehucher-Ceyrac, D., … & Dupuy, P. (1999). Clinical efficacy and safety of a topical combination of retinaldehyde 0.1% with erythromycin 4% in acne vulgaris. Clinical and experimental dermatology, 24(5), 354-357.
– Masini, F., Ricci, F., Fossati, B., Frascione, P., Capizzi, R., De Waure, C., & Guerriero, C. (2014). Combination therapy with retinaldehyde (0.1%) glycolic acid (6%) and efectiose (0.1%) in mild to moderate acne vulgaris during the period of sun exposure–efficacy and skin tolerability. Eur Rev Med Pharmacol Sci, 18(16), 2283-2286.
– Lavker RM, Leyden JJ, Thorne EG. An ultrastructural study of the effects of topical tretinoin on microcomedones. Clin Ther 1992; 14: 773–780.
–  Dreno B, Katsambas A, Pelfini C, Plantier D, Jancovici E, Ribet V, Nocera T, Morinet P, Khammari A. Combined 0.1% retinaldehyde/ 6% glycolic acid cream in prophylaxis and treatment of acne scarring. Dermatology 2007; 214: 260–267.
– Fort-Lacoste, L., Verscheure, Y., Tisne-Versailles, J., & Navarro, R. (1999). Comedolytic effect of topical retinaldehyde in the rhino mouse model. Dermatology, 199(Suppl. 1), 33-35